เจาะลึกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนใน หุ้นยั่งยืน

Jump Start Network  > Business >  เจาะลึกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนใน หุ้นยั่งยืน
0 Comments
หุ้นยั่งยืน

การลงทุนในโลกสีเขียว การลงทุนแห่งอนาคต การลงทุนหุ้นยั่งยืน เป็นการลงทุนที่ฟังดูดีมาก แต่ในทางปฏิบัติการลงทุนนี้หมายความว่าอย่างไร มีเรื่องอะไรที่น่ารู้ก่อนลงทุนบ้าง มาศึกษากันในบทความนี้เลย   

นิยามการลงทุน หุ้นยั่งยืน  

การลงทุน หุ้นยั่งยืน คือแนวทางการลงทุน ที่คำนึงถึงผลกระทบของบริษัทหรือการลงทุนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม การลงทุนอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนทางการเงิน และมีผลกระทบเชิงบวกต่อโลก การลงทุนที่ยั่งยืนมักรวมถึงการลงทุนด้านพลังงานสีเขียว เช่น…พลังลมหรือแสงอาทิตย์ ด้วย  

กลยุทธ์การลงทุนใน หุ้นยั่งยืน คืออะไร? 

กลยุทธ์การลงทุนที่ยั่งยืนคือวิธีการลงทุน ที่พิจารณาถึงผลกระทบของการลงทุนในด้านอื่น ๆ นอกเหนือไปจากผลตอบแทนทางการเงิน แม้ว่าจะไม่มีการรับประกันความสำเร็จของการลงทุน แต่ประสิทธิภาพของกองทุนที่ยั่งยืน มักมีความคล้ายคลึงกับประสิทธิภาพของกองทุนแบบดั้งเดิมอยู่บ้างในบางแง่มุม แต่กองทุนที่ยั่งยืนอาจให้ความเสี่ยงด้านลบแก่นักลงทุนน้อยกว่ากองทุนแบบดั้งเดิม แม้ในยามตลาดที่ตกต่ำก็ตาม จากข้อมูลของ Morningstar กองทุนดัชนี ESG 24 จาก 26 กองทุน (กองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) มีประสิทธิภาพดีกว่ากองทุนทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 เช่นเดียวกับที่ตลาดกำลังตกต่ำเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 

ความแตกต่างระหว่างการลงทุนอย่างยั่งยืน และการลงทุน ESG คืออะไร?  

การลงทุนที่ยั่งยืนมีหลายชื่อ รวมถึงการลงทุนอย่างมีจริยธรรม การลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม การลงทุนสีเขียว การลงทุนเพื่อผลกระทบ และการลงทุน ESG ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน นั่นก็คือ กลยุทธ์การลงทุนที่คำนึงถึงผลกระทบเชิงบวกนอกเหนือไปจากผลตอบแทนทางการเงิน ซึ่งเน้นย้ำไปที่พอร์ตการลงทุนที่ “ยั่งยืน” บางพอร์ตรวมเฉพาะการลงทุนที่มีผลกระทบเชิงบวก ในขณะที่พอร์ตอื่น ๆ ไม่รวมการลงทุนที่มีผลกระทบเชิงลบ และนักลงทุนบางคนอาจยกเว้นการลงทุนในบริษัทยาสูบและอาวุธปืน เพราะเป็นการลงทุนที่มีนิยามต่างจากคำว่า การลงทุนอย่างยั่งยืนมาก  

ข้อยกเว้นประการหนึ่งคือการลงทุน หุ้นยั่งยืน ESG โดยการลงทุน ESG เป็นระบบสำหรับวัดความยั่งยืนของการลงทุนใน 3 ประเภท ได้แก่… สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และบ่อยครั้งที่ “การลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม” จะถูกตัดสินจากการใช้ระบบการให้เกรดตาม ESG ยกตัวอย่างเช่น…หากคุณกำลังสร้างพอร์ตโฟลิโอในการลงทุน ที่สร้างผลกระทบโดยเน้นเรื่องความยุติธรรมทางสังคม คุณอาจมองหาการลงทุนที่ได้รับคะแนนสูงในหมวด “S” ซึ่งเป็นหมวดการลงทุนที่เน้นเรื่องความยุติธรรมทางสังคมเป็นหลัก ซึ่งจะตอบโจทย์การลงทุนของคุณอย่างแน่นอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *